การเข้าเล่มมีแบบไหนบ้าง แนะนำโรงพิมพ์หนังสือ รับพิมพ์หนังสือคุณภาพสูง
แนะนำ 6 รูปแบบยอดนิยมสำหรับการเข้าเล่มหนังสือ พร้อมแนะนำโรงพิมพ์หนังสือที่มีมาตรฐาน ราคาไม่แพง
หนังสือ เอกสาร หรือเนื้อหาต่าง ๆ ซึ่งเป็นสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ความโดดเด่นที่ทำให้ใครหลายคนหลงรัก นอกจากการออกแบบเนื้อหาภายในเล่มที่มีความสวยงามแล้ว การเข้าเล่ม ก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่จะช่วยเพิ่มความสวยงาม เสริมความคงทน และช่วยให้การเก็บรักษาสามารถทำได้ง่ายและยาวนานมากขึ้น ในวันนี้ เราจะพาทุกคนไปชม 6 รูปแบบในการเข้าเล่มที่โรงพิมพ์หนังสือ ที่ได้รับความนิยม จะมีแบบไหนบ้าง ไปดูกันเลย!
6 รูปแบบในการเข้าเล่มหนังสือจากโรงพิมพ์หนังสือ ที่ได้รับความนิยม
การเข้าเล่มแบบไสกาว
เป็นหนึ่งในรูปแบบการเข้าเล่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับงานพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ที่มีความหนาประมาณ 80 หน้าขึ้นไป (เหมาะกับจำนวนหน้าที่หาร 4 ลงตัว) เช่น หนังสือ เอกสารรายงาน คู่มือ นิตยสาร และเอกสารอื่น ๆ เป็นวิธีเข้าเล่มที่มีความโดดเด่นในด้านของรูปลักษณ์ที่ดูเรียบร้อย สวยงาม มีราคาไม่สูง แต่มีข้อด้อยคือ เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ กาวที่ยึดติดกระดาษอาจมีการเสื่อมสภาพลง จนทำให้หน้าของหนังสือหลุดออกจากกันได้ โดยทั่วไปแล้ว วิธีในการเข้าเล่มแบบไสกาว มักจะมีอายุการใช้งานได้ไม่เกิน 10 ปี และลดน้อยลงเมื่อมีการเก็บเอกสารอยู่ในพื้นที่อุณหภูมิสูง ซึ่งทำให้กาวเสื่อมสภาพได้ง่ายขึ้น
การเข้าเล่มแบบเย็บมุงหลังคา
เป็นรูปแบบการเข้าเล่มที่เห็นได้บ่อย ๆ ในการเย็บสมุด หรือหนังสือต่าง ๆ เหมาะกับการใช้เย็บเล่มเอกสารที่มีจำนวนหน้าไม่เกินกว่า 80 หน้า วิธีการในการเข้าเล่มของวิธีนี้ จะเป็นการนำกระดาษทั้งเล่มมาเรียงกันแล้วพับครึ่ง แล้วจึงใช้เย็บลวดตรงแนวพับของกระดาษ
การเข้าเล่มหนังสือแบบเย็บกี่
การเข้าเล่มแบบเย็บกี่ เป็นรูปแบบการเข้าเล่มที่สามารถพบได้ในโรงพิมพ์หนังสือ เนื่องจากเป็นรูปแบบที่เหมาะกับการเข้าเล่มหนังสือที่มีความหนามาก ๆ ตั้งแต่ 150 หน้าขึ้นไป หรือมีความหนาของสันหนังสือเริ่มต้นตั้งแต่ 5 ซม.ขึ้นไป โดยกระบวนการเข้าเล่มของรูปแบบนี้ จะเป็นการใช้ด้ายเย็บแต่ละส่วนของหนังสือให้ยึดติดกัน แล้วจึงนำมารวมกันทั้งหมดจนกลายเป็นเล่มใหญ่ ทำให้การเข้าเล่มมีความแข็งแรง แน่นหนา และมีอายุการใช้งานได้อย่างยาวนานที่สุด
การเข้าเล่มแบบเข้าห่วง
หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นการเข้าเล่มรูปแบบนี้บ่อย ๆ ในปฏิทิน หรือเอกสารต่าง ๆ เป็นรูปแบบที่มีความสวยงาม หรูหรา และมีราคาค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับหนังสือหรืองานพิมพ์ที่มีจำนวนหน้าไม่เยอะมาก และเน้นไปที่ความสวยงามเป็นหลัก และจุดเด่นของการเข้าเล่มแบบเข้าห่วงนี้ก็คือ การที่หนังสือจะสามารถกางออกได้ถึง 360 องศา เปิดปิดเอกสารได้อย่างสบายไม่ต้องกังวลว่าหนังสือจะอ้าออก
การเข้าเล่มแบบกาวหัว
การเข้าเล่มแบบกาวหัว เป็นวิธีการเข้าเล่มที่เน้นไปที่ความแข็งแรง และเหมาะสำหรับหนังสือหรือเอกสารที่มีการเปิดปิดใช้งานบ่อย ๆ เช่น พจนานุกรม สารานุกรม นวนิยาย เป็นต้น สำหรับกระบวนการในการเข้าเล่ม ก็จะเป็นการทำกระดาษเนื้อในมาแยกพับตามขนาดหนังสือที่ต้องการ และทำการเย็บแยกแต่ละส่วนแล้วนำมารวมกันเป็นเล่มใหญ่ แล้วหุ้มด้วยปกอีกชั้นด้วยวิธีการผ่านกาว ทำให้สามารถผลิตเป็นสมุดฉีก หรือกระดาษโน้ตต่าง ๆ ได้ด้วย
การเข้าเล่มแบบเย็บหมุด
มาถึงวิธีการเข้าเล่มแบบสุดท้าย นั่นก็คือวิธีการเข้าเล่มแบบตอกหมุดจำนวน 2-4 ตัวตามความเหมาะสมของรูปเล่ม เหมาะกับการใช้เข้าเล่มเมนูอาหารในร้านอาหาร แค็ตตาล็อกสินค้า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่มีจำนวน 20 หน้าขึ้นไป
จะเห็นได้ว่า วิธีในการเข้าเล่มทั้ง 6 แบบนั้น มีข้อดีและความเหมาะสมในการนำไปใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เราจึงควรเลือกวิธีการเข้าเล่มให้เหมาะสมกับประเภทของเอกสารที่เราต้องการนำไปเข้าเล่มมากที่สุด ซึ่งถ้าหากเพื่อน ๆ ยังคงสับสน และไม่รู้จะเลือกวิธีการเข้าเล่มแบบไหนดี เพื่อน ๆ สามารถพูดคุยปรึกษากับโรงพิมพ์หนังสือที่มีคุณภาพ เพื่อขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านงานพิมพ์โดยเฉพาะ เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมกับงานพิมพ์ของเรามากที่สุดได้
โรงพิมพ์ โรงพิมพ์หนังสือ roongsiriprinting รับผลิต ออกแบบ เข้าเล่มหนังสือ ด้วยกระบวนการที่มีมาตรฐาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดยสรุปแล้ว ในการเข้าเล่มหนังสือทั้ง 6 รูปแบบที่เรานำมาฝากเพื่อน ๆ กันในวันนี้ การเข้าเล่มด้วยวิธีการเย็บกี่ เป็นรูปแบบที่ใช้ต้นทุนในการเข้าเล่มสูงมากที่สุด เนื่องด้วยกรรมวิธีในการเข้าเล่มที่มีความซับซ้อน แต่ก็แลกมาด้วยจุดเด่นที่มีความแข็งแรงทนทานมากที่สุด ทั้งนี้ การพิจารณาเลือกวิธีการในการเข้าเล่ม เราควรเลือกให้เหมาะสมกับตัวเนื้อหาของหนังสือที่เราต้องการนำมาเข้าเล่มด้วย โดยพิจารณาในส่วนของจำนวนหน้าของหนังสือของเรา ว่ามีความหนา จำนวนหน้าเท่าไร รวมถึงพิจารณาเรื่องของการนำไปใช้งาน และการเก็บรักษาอย่างเหมาะสมด้วย การเลือกโรงพิมพ์หนังสือที่มีคุณภาพเองก็สำคัญ เพราะเราจะได้รับงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน โดยเฉพาะหากเลือกโรงพิมพ์หนังสือที่มีการใช้กระบวนการผลิตหรือเลือกใช้วัสดุต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โรงพิมพ์หนังสือ
roongsiriprinting ที่เลือกใช้เทคโนโลยีทันสมัยมากมายมาใช้ในกระบวนการผลิต เลือกใช้พลังงานสะอาดที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงมีการนำเทคโนโลยีหมึกพิมพ์พิเศษ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 และ Carbon Nertral ทำให้ไม่มีกลิ่นหมึกติดบนกระดาษ ส่งผลดีทั้งต่อผู้อ่านและสิ่งแวดล้อมโลก ก็จะช่วยให้ผลงานของเราทุกชิ้น มีความสวยงาม แข็งแรง สามารถเก็บรักษาได้อย่างยาวนาน ทั้งยังดีต่อโลกและผู้อ่านด้วย โรงพิมพ์หนังสือ roongsiriprinting เรามุ่งหวังที่จะผลิตชิ้นงานคุณภาพ ที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ทั้งผู้คนและรักษาสิ่งแวดล้อมโลกไปในคราวเดียวกัน เพื่อสร้างสังคมที่สวยงามและยั่งยืนต่อไป
สนใจผลิต กระดาษห่ออาหาร กระดาษห่อข้าว กระดาษรองอาหาร กระดาษรองอาหารพิมพ์ลาย
โทร : 02 578 6186
Line : @roongsiriprinting
E-mail : roongsirigreenprint@gmail.com